ในยุคก่อนที่แว่นตาและเลนส์ได้มีการคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาความผิดปกติทางสายตาที่มีผลให้มองเห็นภาพไม่ชัดเจน เลนส์แว่นจะเป็นเลนส์ชั้นเดียวซึ่งเป็นเลนส์ที่ให้ระยะการมองเห็นที่ชัดเจนเพียงแค่ระยะเดียวเท่านั้น การเลือกใช้เลนส์สายตาจึงเลือกใช้ตามระยะที่ให้ความชัดเจนในการมองเห็นมากที่สุดเท่านั้น
แต่ปัจจุบันเลนส์สายตามีการพัฒนาให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อปัญหาความผิดปกติทางสายตาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ร่วมกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน
เลนส์สำหรับระยะกลาง-ใกล้เป็นหนึ่งในประเภทเลนส์โปรเกรสซีฟ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้ตรงกับพฤติกรรมมากกว่าเลนส์โปรเกรสซีฟทั่วไป โดยเน้นระยะการมองเฉพาะใกล้และกลาง ระยะใกล้ก็คือระยะในการอ่านหนังสือ การใช้มือถือสมาร์ทโฟน ส่วนระยะกลางก็หมายถึงระยะของการใช้งานคอมพิวเตอร์ ภาพที่เห็นในระยะกลางไม่เกิน 1-2 เมตร เช่น การดูทีวี
ภาพจำลองมุมมองเลนส์เฉพาะทาง
ภาพจำลองมุมมองเลนส์โปรเกรสซีฟ
cr. www.rodenstock.com
เลนส์สำหรับระยะกลาง-ใกล้จัดอยู่ในกลุ่มเลนส์เฉพาะทาง
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งมักพบว่ามีสายตาที่ยาวจากอายุที่มากขึ้น
ปัญหาทั่วไปคือเลนส์โปรเกรสซีฟที่สามารถมองได้ทุกๆระยะนั้น ยังไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานในระยะใกล้และระยะกลางได้อย่างเต็มที่
การเลือกใช้เลนส์สำหรับระยะกลาง-ใกล้จะช่วยให้เห็นภาพระยะใกล้และกลางเมื่อต้องทำงาน เช่น อ่านหนังสือ หรือทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ดีขึ้น ไม่ต้องปรับท่าทางการใช้ หรือใช้แว่นสายตา 2 อันและสลับใส่ไปมาเมื่อต้องอ่านหนังสือหรือใช้งานคอมพิวเตอร์
การมองผ่านเลนส์เฉพาะทาง
- ปรับให้เข้ากับการเคลื่อนไหวของดวงตาและพฤติกรรมการมองเห็นในที่ทำงานของผู้ใช้
- ลานสายตากว้างเป็นพิเศษที่ระยะการอ่านจนถึงความลึกของห้อง
- ช่วยปรับท่าทางตามหลักสรีรศาสตร์
- ให้ความสบายตาแม้ยามพักผ่อน
การมองผ่านเลนส์โปรเกรสซีฟ
- ช่วยให้มองระยะใกล้และระยะไกลได้อย่างราบรื่น
- ไม่ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ
- ช่วงการมองในการอ่านหนังสือและระยะกลางค่อนข้างแคบ
- อาจส่งผลให้มีการวางท่าทางที่ไม่เป็นธรรมชาติขณะทำงาน
- สายตาอ่อนล้าและลำคอตึงอันเกิดจากการขยับศีรษะบ่อยครั้ง
การมองผ่านเลนส์ชั้นเดียว
- มองเห็นในระยะใกล้ได้ดีขึ้นถึง 40 ซม. เช่น บนคีย์บอร์ด
- ไม่เหมาะกับระยะห่างถึงหน้าจอ หรือประมาณ 60-80 ซม.
- ปรับโฟกัสได้ไม่ดี เช่น เมื่อมองปฏิทินบนผนังหรือเพื่อนร่วมงานในห้องเดียวกัน
- ช่วยผ่อนคลายท่าทางและความตึงเครียด
- ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย
ข้อมูลจาก www.rodenstock.com
เลนส์สำหรับระยะกลาง-ใกล้เป็นเลนส์ชนิดพิเศษ ไม่มีรอยต่อระหว่างเลนส์เช่นเดียวกับในเลนส์โปรเกรสซีฟ ทำให้เห็นภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดการสะดุด แต่ได้มุมมองของภาพที่กว้างกว่าการใช้เลนส์โปรเกรสซีฟทั่วไป
อย่างไรก็ตามเลนส์นี้เหมาะสำหรับการใช้เพื่อมองระยะใกล้และกลางเท่านั้น จึงมีข้อจำกัดของการมองเห็นภาพที่ที่ไม่สามารถมองระยะไกลได้ การสร้างความคุ้นเคยกับเลนส์ก็เหมือนกับเลนส์ชนิดอื่น ๆ คือต้องลองสวมใส่ระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เกิดความคุ้นชินก่อนนั่นเอง
Ergonomic Design for Near Vision Lens | Rodenstock
มีคนจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป เริ่มมีปัญหาสายตายาวมองภาพระยะใกล้ ๆ ได้ไม่ชัดเจน แต่ยังต้องทำงานประจำหรือทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกวัน เลนส์สำหรับระยะกลาง-ใกล้ตอบโจทย์ปัญหาเรื่องสายตาได้เป็นอย่างดี