Vision

สายตาสั้น..มีสิทธิ์หายมั้ย?

สายตาสั้นเกิดจากภาวะผิดปกติของการหักเหแสง (refractive error) คือการที่แสงโฟกัสเร็วเกินไปจึงทำให้ผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้นเห็นภาพไกลไม่ชัด

ไม่ว่าจะเกิดจาก…

  • กระจกตาเลนส์ตาหักเหมากเกินไป กระบอกตายาวไป หรือค่าดัชนีหักเหในลูกตามีมากเกินไป

  • พันธุกรรม ที่สามารถพบได้ในพ่อแม่ที่มีสายตาสั้นมาก

  • เชื้อชาติ พบว่าคนจีนมีแนวโน้มสายตาสั้นกว่าคนยุโรปหรือแอฟริกา

  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต กิจกรรมต่าง ๆ

หลายคนเข้าใจว่าอายุมากขึ้นสายตาจะยาวขึ้นทำให้สายตาสั้นหายไป ต้องบอกว่าเป็นได้ในบางกรณีค่ะ เช่น คนๆ นั้นมีสายตาสั้นอยู่ประมาณ -1.00D ถึง -3.00D พออายุมากขึ้นมีสายตายาวผู้สูงอายุซึ่งจะเริ่มต้นประมาณ +1.00D ถึง +2.50D ก็จะทำให้สามารถมองเห็นในระยะใกล้ได้ดีด้วยตาเปล่า ถ้าในช่วงเวลานั้นสายตายาวสูงอายุของคนๆนั้นมีค่าเท่ากับสายตาสั้นที่มีมาแต่เดิมพอดี เรียกง่ายๆ ว่าหักล้างกันพอดี แต่การมองไกลก็ยังคงต้องใช้แว่นสายตาสั้นเท่าเดิมอยู่ดีนะคะ

shutterstock_403863505

นอกเหนือจากกรณีที่กล่าวไปแล้ว ก็ยังมีกรณีสายตาสั้นเทียมที่เกิดจากการใช้สายตาในระยะใกล้ติดต่อกันเป็นเวลานานจนทำให้เลนส์ตาเกิดการเพ่งค้างอยู่ตลอดเวลา ทำให้มองไกลไม่ชัด หรือเดี๋ยวชัดเดี๋ยวไม่ชัด การใส่แว่นสายตาสั้นอาจทำให้เห็นชัดเจนขึ้นในเวลาสั้นๆ แต่จะมีอาการปวดตาตามมาได้ กรณีแบบนี้การใส่แว่นสายตาสั้นไม่ใช่คำตอบ การลดการใช้สายตาในระยะใกล้ให้เลนส์ตาได้คลายตัวบ้างเป็นเรื่องที่ดีที่สุด

ดังนั้นหากถามว่าเมื่อสายตาสั้นแล้วมีโอกาสที่จะหายหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ (ยกเว้นกรณีสายตาสั้นเทียม การผ่าตัด และยิงเลสิค) สำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้นมากอาจจะต้องดูแลพักสายตาเพื่อป้องกันไม่ให้ดวงตาล้ามากเกินไป หลีกเลี่ยงการเพ่งมองในที่แสงสว่างไม่เพียงพอไม่ว่าจะเป็น ดูหนัง ดูทีวี หรือใช้สมาร์ทโฟน ฯลฯ

shutterstock_641921188
shutterstock_376479100

บางคนพูดถึงสายตาสั้นเทียม มันคืออะไร?

อาการของผู้มีภาวะสายตาสั้นเทียม (pseudomyopia)
  • บางครั้งมองไกลชัดแต่บางครั้งก็ไม่ชัด เป็นๆ หายๆ
  • มีอาการปวดตา ปวดหัว
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • ใส่แว่นแล้วก็ไม่ได้ช่วยให้มองได้ชัดเจน ยังมีอาการปวดตา ปวดหัวมากขึ้น

หากพบว่าคุณมีอาการเหล่านี้สามารถดูแลตัวเองได้โดย

  1. ลดใช้สายตามากเกินไป ด้วยการไม่ใช้สายตาใกล้เกินความจำเป็นพักสายตา

    บริหารดวงตา ฯลฯ และหากไม่ดีขึ้นควร

  2. พบจักษุแพทย์หรือนักทัศนมาตรเพื่อตรวจสายตา และหาแนวทางการแก้ไขปัญหา

Related Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *